นักมายากลกับคุณหมอผ่าตัดหัวใจ

อาจารย์นายแพทย์สยาม ค้าเจริญ

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรดาคุณหมอและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในหัวข้อ Facilitators Skills 

ทุกท่านมีความสามารถมากครับ
มีส่วนหนึ่งของความประทับใจ
อยากนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ในช่วงที่มีการฝึกปฏิบัติหน้าห้อง
มีอาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งครับ
ท่านชื่อนายแพทย์สยาม ค้าเจริญ 
ท่านเป็นศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจครับ 
ผมได้ขออนุญาตท่านนำเรื่องราวมาแบ่งปันในมุมของการเป็น”นักเล่าเรื่อง”อยากให้ทุกคนได้อ่านครับเพราะนี่คือตัวอย่างที่ดีมากๆของ Storytelling ที่ผมได้เจอ 
นั่นคือ 5 ข้อ”ตัวอย่างสำหรับนักเล่าเรื่องที่ดี”

1.การเปิดตัวด้วยคำถามหรือประโยคที่ดึงความสนใจ
อาจารย์เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวที่น่าสนใจ

“เชื่อไหมครับว่าถึงแม้ผมจะเป็นแพทย์ผ่าตัดหัวใจผมก็เชื่อในเรื่องของความลี้ลับ?”

2. การใช้อารมณ์ขันสร้างความเป็นกันเองให้กับผู้ฟัง
“ถ้าใครมีของ,มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่าแกล้งกันนะครับ….” อ.เรียกรอยยิ้มของผู้ฟังได้ดีทีเดียวครับ

3. จุดเปลี่ยน ดึงความสนใจ
ระหว่างที่เรากำลังสงสัยกันว่าอาจารย์สยามนอกจากเป็นคุณหมอแล้ว..
..หรือท่านยังเป็นร่างทรงอีกด้วย?!?! 😅

ก่อนที่พวกเราจะคิดกันไปไกลเกินกว่านี้..
อาจารย์ท่านก็เฉลยว่าแท้ที่จริงแล้วเรื่องลี้ลับคือ”มายากล”ที่มีความชื่นชอบมาตั้งแต่วัยเด็กครับ 

4.สื่อการสอนที่หลากหลายและให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม
ไม่รอช้าอาจารย์ควักปากกามา 1 ด้ามและชวนผู้ฟังร่วมเล่นมายากล ไม่นานครับปากกาในมือก็หายวับไปกับตา!!
เรียกเสียงฮือฮาและเสียงปรบมือได้เลยครับ

5 การใช้ Analogy หรือการเปรียบเทียบเปรียบเปรย
เชื่อว่าทุกคนคงเคยดูการเล่นมายากลที่สุดคลาสสิค คือการเสกของบางสิ่งให้หายไปและนำมันกลับมาพร้อมกับการอ้าปากค้างด้วยความตะลึงงันของคนดู

อ.สยามเริ่มเล่าเรื่องการเล่นมายากล
ให้พวกเราฟังว่าการเล่นมายากลนั้นล้วนมาจากพื้นฐาน 3 ขั้นตอนที่เราเรียกว่า 
“The Three Parts of Acts”
ประกอบด้วย

The Pledge
การเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ดูปกติ
พร้อมคำมั่นสัญญาบางอย่าง
ที่ดึงความสนใจให้คุณเฝ้ารอด้วยความตื่นเต้น

The Turn 
ถ้าในภาพยนตร์เราเรียกว่าจุดหักมุม
ในการเล่นมายากล
คือการทำให้ของบางอย่าง “หายวับไปกับตา”
หรือเปลี่ยนสภาพแบบเราแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง

The Prestige
การสะท้อนสิ่งที่คุณได้สัญญาตั้งแต่ต้น
ว่าเรื่องราวนี้จะมีบทสรุปอย่างไร นักมายากลจะใช้จังหวะนี้ในการเรียกของบางอย่างกลับคืนมาหรือบางครั้งเราเรียกมันว่า 
“การคืนสภาพ”

หลังจากนั้นก็มาสู่ขั้นตอนสำคัญที่ผมประทับใจมากครับอาจารย์เริ่มเปรียบเทียบการทำงานศัลยแพทย์ผ่าตัดหัวใจของท่านด้วยหลักการเล่นมายากล

The Pledge 
การผ่าตัดหัวใจโดยส่วนมากเราจะทำกับหัวใจที่ยังคงเต้นสูบฉีดโลหิตให้ร่างกายอยู่

The Turn
ในขณะผ่าตัด อาจารย์สยามเล่าว่าท่านต้องทำให้หัวใจนั้น”หยุดเต้น” ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับการทำหัวใจนั้นให้หายไปชั่วคราว

The Prestige
ก่อนที่ท้ายสุด..จะจบที่การทำตามความตั้งใจที่สุด
ของคุณหมอคือการ”คืนสภาพ”นำหัวใจดวงนั้นกลับมาเต้นเป็นจังหวะ สูบฉีดโลหิตให้ร่างกายอีกครั้ง

The Three Parts of Acts
ลักษณะนี้ยังถูกนำมาใช้ในการเขียนหนังสือ บทภาพยนตร์และการเล่าเรื่อง Storytelling อีกด้วย

“Analogy” การเปรียบเทียบทำสิ่งที่ยากจะเข้าใจให้เป็นเรื่องเรื่องง่ายๆ
ก็เป็นศิลปะที่นักเล่าเรื่องทุกคนควรศึกษานะครับ

ขอบคุณอาจารย์นายแพทย์สยาม ค้าเจริญ
อีกครั้งสำหรับตัวอย่างที่ดีและแรงบันดาลใจในการเล่าเรื่องให้กับใครหลายๆคน

และสำหรับผม…การทำให้หัวใจดวงเล็กๆที่กำลังมีปัญหากลับ มาหล่อเลี้ยงชีวิตได้เหมือนเดิม
มันคือ Magic ที่มหัศจรรย์มากๆครับ

กัปตันหมี