จะเป็นนกหรือโคมลอย
ถ้าไม่อยากให้เข้าเครื่องยนต์ทำไม
ไม่ติดตาข่ายที่เครื่องยนต์ไปเลยล่ะ ??
1
จาก Facebook live เมื่อคืนที่พูดถึง Foreign Object Debris หรือ FOD ผมโดนถามคำถามนี้
น่าสนใจนะครับวันนี้เลยมาขยายความให้ฟัง
2
นกที่บินเข้าเครื่องยนต์ความเร็วที่ถูกดูดเข้ามาบวกกับความเร็วของเครื่องบินอาจมีความเร็วถึง 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันจะสร้างความเสียหายให้กับตาข่ายหรืออุปกรณ์ป้องกัน ชิ้นส่วนที่เสียหายของตาข่ายจะเข้าไปในเครื่องยนต์และสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง นึกภาพถ้าปราศจากตาข่ายหรืออุปกรณ์ป้องกัน นกจะถูกแรงดูดและใบพัดปั่นแล้วย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กๆ แน่นอนมีความเสียหายแต่ความเสียหายต่อเครื่องยนต์ย่อมน้อยกว่า
3
ในส่วนของการป้องกัน สนามบินส่วนใหญ่ก็จะมีรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์อื่นๆเข้ามาในรันเวย์ การตัดหญ้าไม่ให้เป็นแหล่งพักอาศัยของนก รวมถึงวิธีการอื่นๆ
ส่วนบริษัทผลิตเครื่องบินว่าเขาคิดยังไงกันบ้าง?
โบอิ้งแนะนำนักบินไม่ใช้กำลังเครื่องยนต์มากขณะลดระดับให้ใช้การร่อนโดยใช้เครื่องยนต์รอบเดินเบา,หลีกเลี่ยงการบินระดับที่ความสูงต่ำๆ ซึ่งใช้กำลังเครื่องยนต์มาก ถ้านกหลุดเข้าไปจะสร้างความเสียหายกับเครื่องยนต์มากเช่นกัน
กรณีมีฝูงนกขวางอยู่ตรงหน้าขณะเครื่องจะลงจอด
โบอิ้งยังแนะนำให้นักบินพิจารณาดีๆระหว่างการยกเลิกการลงจอดหรือลงจอดโดยบินผ่านฝูงนกไปแล้วลงจอด เพราะการยกเลิกการลงจอดหมายถึงนักบินต้องเร่งเครื่องสูงสุดกำลังมากสุด และแน่นอนเมื่อนกเข้าไปในเครื่องก็มีโอกาสที่จะเครื่องยนต์เสียหายได้มากสุดเช่นกัน
ทั้งหมดคือเรื่องนก ผมคิดว่าสามารถนำมาใช้พิจารณาในเรื่องโคมลอยได้เช่นกัน
ฝากไว้ครับ : แนวเฝ้าระวังระดับ 1 คือแนวร่อนและแนววิ่งขึ้นของเครื่องบินในสนามบินนั้น ขยายออกซ้ายขวาประมาณ 5 กิโลเมตรจากแนวรันเวย์และทอดตัวยาวไปประมาณเกือบ 19 กิโลเมตร (ตรวจสอบประกาศของสนามบินและจังหวัดอีกทีนะครับสำหรับข้อมูล) เป็นบริเวณที่ห้ามมีการปล่อยโคมลอยโดยเด็ดขาด โทษของการทำให้อากาศยานเสียหายจนบินไม่ได้หรือประสบอุบัติเหตุมีโทษรุนแรงมากนะครับ
ฝากไว้พิจารณาทั้งนักบินผู้ทำการบิน
และผู้ที่คิดจะปล่อยโคมลอยในค่ำคืนนี้
ขอให้การบินปลอดภัย
ขอให้ทุกคนมีความสุขกับวันลอยกระทง
กัปตันหมี
Cr : SimpleFlying.com