วันที่หิมะโปรยปรายกับขั้นตอน De-icing และ Anti-icing

วันที่หิมะโปรยปราย
กับขั้นตอน De-icing และ Anti-icing

วันนี้หิมะตกที่ซูริคตั้งแต่เช้าครับ
เที่ยวบินกลับกรุงเทพฯของเราจึงมีโอกาสต้องทำ De-icing และ Anti-icing ที่หลายคนเคยเห็นเหมือนเครื่องบินเข้าคาร์แคร์อัดฉีดสารเคมีบางอย่าง
มันคืออะไรนะกัปตันหมีจะเล่าให้ฟัง

1
Safety first: Flying clean
เครื่องบินจะวิ่งขึ้น ต้องอยู่ในสภาพ Clean ,หิมะหรือน้ำแข็งที่เกาะบนผิวปีกหรือลำตัวจะทำให้เครื่องบินเกิดแรงต้าน,สูญเสียแรงยกและเป็นอันตรายได้

2
De-icing ขั้นตอนแรกคือการละลายน้ำแข็งหรือหิมะที่เกาะ
อยู่ที่เครื่องบิน โดยใช้ของเหลวที่มีคุณสมบัติทางเคมีและมีความร้อนฉีดพ่นเข้าไป

3
เมื่อทำให้เครื่องบินสะอาดปราศจากสิ่งแปลกปลอม ☺️ (Clean) แล้วขั้นตอนต่อไปคือการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันน้ำแข็งเกาะที่เรียกว่า Anti-icing เจ้าสารเคมีนี้จะคงทนอยู่ทำหน้าที่ป้องกันหิมะและน้ำแข็งให้เครื่องบินในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เรียกว่า holdover time ซึ่งต้องครอบคลุมจนถึงเวลาที่เครื่องบินวิ่งขึ้นหรือ Takeoff

ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่า Anti-icing จะช่วยป้องกันเครื่องบินจากน้ำแข็งหรือหิมะบนอากาศด้วย เพราะแท้ที่จริงเจ้าสารเคมีที่ทำหน้าที่ Anti-icing มันจะหลุดร่อนออกจากตัวเครื่องเมื่อเครื่องบินวิ่งขึ้นจากรันเวย์เรียกว่าประมาณ 1,000 ฟุตก็แทบจะไม่เหลือสารเคมีดังกล่าวแล้ว…

บนอากาศเครื่องบินจะใช้ระบบป้องกันน้ำแข็งของตัวเอง
ทำงานรับช่วงต่อครับ

มาลุ้นกันว่าวันนี้เที่ยวบินของผมจะต้องทำ
De-icing และ Anti-icing ไหม

กัปตันหมี

**สำหรับสถานที่ทำ De-icing และ Anti-icing ก็แล้วแต่สนามบินครับบางแห่งทำที่ตำแหน่งจอด(Gate) บางแห่งทำหลังจากดันเครื่องถอยหลังออกมาแล้ว และมีหลายที่ ไปทำที่ตำแหน่งเฉพาะเจาะจงซึ่งระบุไว้ (de-icing pad)