เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา 5 วันก่อนที่บริษัทแอร์บัสประกาศยุติโครงการผลิตเจ้าวาฬยักษ์แอร์บัส A380
โบอิ้งได้ใช้วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2019 เพื่อการเฉลิมฉลองครบ 50 ปีของการถือกำเนิด
“ราชินีแห่งฟากฟ้า” โบอิ้ง 747 หรือเครื่องจัมโบ้เจ็ทที่หลายคนรู้จักดี
มันช่างต่างอารมณ์สุดขั้วความรู้สึกจริงๆ
ย้อนหลังกลับไปวันที่ 9 กุมภาพันธ์ปี 1969 วันนั้นเป็นวันทำการบินทดสอบโบอิ้ง 747 เป็นครั้งแรก
และเป็นการถือกําเนิดเครื่องบิน Wide Body
เพื่อการพาณิชย์เป็นครั้งแรกของโลก
ตลอดระยะเวลา 50 ปี ไม่มีข้อกังขา
เธอคือราชินีแห่งฟากฟ้าอย่างแท้จริง
และนี่คือ 5 ข้อที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับโบอิ้ง 747
1. โรงงานที่โบอิ้งมีอยู่ในขณะนั้นไม่สามารถรองรับขนาดมหึมาของโบอิ้ง 747 ได้..
โบอิ้งจึงจำเป็นต้องสร้างโรงงานใหม่ขึ้นที่ Everett เพื่อผลิตโบอิ้ง 747 โดยเฉพาะ ด้วยเนื้อที่โรงงานกว่า 200 ล้านตารางฟุต ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้เป็นบ้านที่ถือกำเนิดของเครื่องบินโบอิ้ง 767,777 และ 787
2. จากความล้มเหลวสู่การพลิกโฉมประวัติศาสตร์การบิน..
เมื่อครั้งที่บริษัทโบอิ้งพ่ายแพ้ต่อบริษัทล็อกฮีทในการเสนอโครงการเครื่องขนส่งขนาดยักษ์ C-5
บทเรียนที่เจ็บปวดครั้งนั้นนำมาสู่การพัฒนาเครื่องยนต์ที่ทรงประสิทธิภาพและประหยัดน้ำมันสูงสุดในยุคนั้นคือเครื่องยนต์ Turbo Fan ของโบอิ้ง 747 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องยนต์ที่มี High-Bypass-Ratio ซึ่งเข้ามาแทนที่เครื่องยนต์แบบเก่าอย่างสมบูรณ์แบบ
3. การถือกำเนิดเกิดขึ้นของราชันแห่งฟากฟ้า
เครื่องบินคองคอร์ด และวิสัยทัศน์ของโบอิ้งกับเครื่องบินโดยสารที่เร็วกว่าเสียง Super Sonic Transports (SSTs)..
ไม่น่าเชื่อถัดไปอีกไม่ถึง 1 เดือน
วันที่ 2 มีนาคม 1969 ราชันแห่งฟากฟ้าเครื่องบินคองคอร์ดก็ถือกำเนิดเกิดขึ้น
โดยมีการบิน Test Flight เป็นครั้งแรก
ที่เมืองตูลูสประเทศฝรั่งเศส
แน่นอนมันสร้างความสั่นสะเทือนให้กับ Boeing
ในช่วงเวลานั้น Boeing จึงริเริ่มโครงการสร้างเครื่องบินซุปเปอร์โซนิคออกมาสู้
นั่นคือโครงการพัฒนาเครื่องบินโบอิ้ง 2707
ที่ร่วมพัฒนากับนาซ่า
ว่ากันว่าเครื่องบินนี้หากพัฒนาสำเร็จจะมีความเร็วกว่าความเร็วเสียงถึง 3 เท่า
แต่การปรากฏตัวของราชินีแห่งฟากฟ้าโบอิ้ง 747
สร้างเสียงตอบรับอย่างดีมากในวงการบินในเวลานั้น โบอิ้งจึงมานั่งทบทวนโครงการสร้างเครื่องบินซุปเปอร์โซนิคอีกครั้ง ประกอบกับได้รับข้อมูลการบริโภคเชื้อเพลิง อย่างมหาศาลของคองคอร์ด
และข้อจำกัดของจำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
ทำให้วิสัยทัศน์ของโบอิ้งในวันนั้น
มองว่าโบอิ้ง 747 คือคำตอบที่ถูกต้องแล้ว
4. Boeing 747 แต่เดิมถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องบินแบบ Double Decker หรือเครื่องบินที่มี 2 ชั้นตลอดลำเหมือนแอร์บัส A380..
แต่โบอิ้งในวันนั้นมองว่าจำนวนผู้โดยสารที่มากเกินความพอดี จะสร้างปัญหาหลายอย่างตามมา
ปัญหาแรกที่โบอิ้ง ตระหนักถึงคือการอพยพผู้โดยสารทั้งลำออกจากเครื่อง(Evacuation)
ให้ได้ภายใน 90 วินาที ตามกฎข้อบังคับของ FAA
โบอิ้งจึงล้มเลิกความตั้งใจดังกล่าว
เราจึงเห็นรูปร่างที่สง่างามของโบอิ้ง 747 ในวันนี้
ที่เรียกว่า Shorter Upper Desk คือมีเพียง Upper Desk หรือมีชั้น 2 เฉพาะส่วนหน้าเหมือนในทุกวันนี้
5. ไม่น่าเชื่อว่าด้วยขนาดตัวที่ใหญ่โต มันกลับทำให้โบอิ้ง 747 เป็นเครื่องบินที่มี Stability ในการบินที่สูงที่สุดในขณะนั้น..
Brien Wygle นักบินผู้ช่วยที่ทำการทดสอบ โบอิ้ง 747 ในเที่ยวบินแรกได้กล่าวว่า
“เมื่อเราเริ่มทำการบินเรารู้ได้ทันทีว่ามันเป็นเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพและควบคุมได้ง่ายมาก ในสภาพที่มีกระแสอากาศแปรปรวนมันกลับบินได้นิ่งอย่างเหลือเชื่อ”
คงเป็นความรู้สึกคล้ายๆกันกับผู้โดยสาร หลายๆคนที่รู้สึกถึงความนิ่ง มั่นคงและมั่นใจเมื่อบินกับเจ้าวาฬยักษ์แอร์บัส A380
คงปฏิเสธไม่ได้ครับ..ว่าความยิ่งใหญ่ของราชินี
แห่งฟากฟ้าที่มาถึงวันนี้ต้องเจอคลื่นของการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับ Airbus A380
“เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ ไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป”
แต่อาจจะต่างกันตรงที่
เจ้าราชันแห่งฟากฟ้าเครื่องบินคองคอร์ดและเจ้าวาฬยักษ์แอร์บัส A380 บทสรุปหน้าสุดท้ายอาจไม่สวยงามนัก สำหรับการก้าวลงจากเวที
แต่สำหรับราชินีแห่งฟากฟ้าโบอิ้ง 747
การประกาศสละตำแหน่งแชมป์ ในขณะที่ยังเป็นแชมป์อยู่ แล้วก้าวลงจากเวที
มันช่างต่างกันโดยสิ้นเชิง
สำหรับหลายท่านที่มีประสบการณ์สุดประทับใจกับแอร์บัส A380
ผมอยากให้ท่านได้มีประสบการณ์กับโบอิ้ง 747 บ้าง
ถึงแม้จะไม่ทันสมัยและที่นั่งอาจไม่สบายเทียบเท่าแอร์บัส A380
แต่ท่านกำลังสัมผัสแล้วได้นั่งบนเครื่องบิน
ที่เป็นตำนาน “The Legend of Sky “
โบอิ้ง 747..
เธอผู้เป็นราชินีแห่งฟากฟ้า…..ตลอดไป
สุขสันต์วันเกิด 50 ปีย้อนหลังครับ
The Wold’s First Jumpo Jet
กัปตันหมี : Line@ @leadertoday
Mystoryway.com
Facebook : เรื่องเล่าสีขาว
Facebook : takeoff2life