Why Leadership = Storytelling

Photo: Wikipedia

ทำไมการเล่าเรื่องจึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญ
ที่ทุกคนควรจะมีในศตวรรษที่ 21
ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้นำหรือมีบทบาทใดๆในองค์กร

Storytelling คือเครื่องมือที่ทำให้ท่านได้เปรียบ
และช่วยให้การทำงานของท่านง่ายขึ้น
มีประสิทธิภาพขึ้น 

Steve Jobs  คือคนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่า
มีทักษะในการเล่าเรื่องที่เรียกว่าขั้นเทพ

การเปิดตัว iPhone ด้วยเรื่องเล่า การสร้างโมเมนต์ที่น่าจดจำด้วยการดึง Macbook Air ออกจากซองเอกสารสีน้ำตาล ล้วนแล้วแต่เป็นเทคนิคการเล่าเรื่องที่น่าศึกษาครับ

แต่วันนี้ผมจะพูดถึงนักเล่าเรื่องที่สุดยอดอีกคน
ที่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึง

เขาดูเป็นคนเข้าถึงยาก คำพูดที่ออกมาจากปากเขาบางครั้งสร้างความไม่พอใจหรือแปลกใจ 
ถึงกระบวนการความคิดของเขาในบางครั้ง

แต่อย่างที่ผมบอกคุณสมบัติสำคัญของคนที่สำเร็จคือการเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีสามารถถ่ายทอดความคิดที่สุดยอดให้คนอื่นเข้าใจมันได้อย่างง่ายๆ….

ชายคนนั้นที่ผมพูดถึงคือ “อีลอน มัสก์”
เขาเป็นคนเก่งมีวิสัยทัศน์ที่สุดยอด
แต่ถ้าไม่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้
ก็ยากที่จะสำเร็จ 

Photo: Fortune.com

บ่อยครั้งในการทำงานทีี่เราต้องพูดถึง “วิสัยทัศน์” หรือ”แผนการ” ในการนำเสนอ 

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
สำคัญที่สุดคือเมื่อทุกคนฟังแล้วต้องอยากที่จะออกก้าวเดินพร้อมกับเราไปยัง Promised Land
ดินแดนที่ยังไม่มีใครเคยไปถึงมาก่อน
ซึ่งอาจรวมถึงแม้กระทั่งตัวเราเองด้วย

อีลอน มัสก์กับ Keynote ที่สุดประทับใจของเขา
ในเรื่อง Tesla Power Mall หนึ่งในโปรเจคของ Tesla ในการสร้างเซลล์แบตเตอรี่เพื่อพลังงานไฟฟ้าในอนาคต

เชื่อไหมครับเขาขึ้นบนเวทีด้วยความประหม่า,ตื่นเต้นแต่หลังจากพูดจบ โครงการ Tesla Power Mall ก็เข้าไปอยู่ในใจของผู้ฟังอย่างไม่ต้องสงสัย

อีลอน มัสก์ใช้เคล็ดลับอะไรในการเล่าเรื่องของเขาจนเป็นที่ถูกพูดถึงว่า นี่เป็นอีกหนึ่ง Storytelling ที่สุดยอดที่สุด

มันคือหลักการที่นักพูดหรือนักเล่าเรื่องที่ยิ่งใหญ่ล้วนใช้กันไม่เว้นแม้กระทั่งสตีฟ จ๊อบส์

หลักการที่แสนจะธรรมดา ที่ท่านสามารถจะนำไปใช้ในการนำเสนอ,สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ทุกคนคล้อยตามพร้อมจะเดินทางไปกับท่าน
มุ่งยังไป Promised Land 

มันประกอบไปด้วย 5 ข้อนี้ครับ
1สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลง อีลอน มัสก์
เริ่มต้นจากภาพของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โรงงานปล่อยควันพิษ 
เขาเริ่มต้นด้วยการสร้าง Awareness ให้กับคนฟัง

2. ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงผลเสียจะเป็นอย่างไร
อีลอน มัสก์ไม่รอช้าจะนำตัวเลขทางสถิติที่ดูน่ากลัวและน่าเป็นห่วงสำหรับโลกใบนี้ หากเรายังทำลายโลกโดยการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอีกต่อไป

3. Promised Land มันมีหน้าตาสวยงามเช่นไร
อีลอน มัสก์แสดงให้เห็นภาพของการใช้พลังงานสะอาดด้วยพลังงานไฟฟ้าที่เทสล่ากำลังจะนำมาใช้มันเป็นภาพของความหวังที่ทุกคนรับรู้ได้

4. อุปสรรคระหว่างทาง
“..เอาละฉันรู้แล้วว่าที่ Promised Land เรากำลัง
จะไปมันสวยงาม แล้วระหว่างทางล่ะมันมีอุปสรรคอย่างไรบ้าง”
 อีลอน มัสก์เลือกที่จะสื่อสาร “ความจริง” นี้ให้ทุกคนทราบเพราะนี่ไม่ใช่การขายฝันครับ มันคือเรื่องของความเป็นจริง นักเล่าเรื่องที่ดีต้องสร้างการคล้อยตามและยอมรับบนพื้นฐานของความจริง
ไม่ใช่การขายฝันครับ

5. หลักฐานยืนยันความมั่นใจ
ในเมื่อทุกคนเห็นถึงดินแดนที่ปรารถนา ในขณะเดียวกันก็ทราบถึงอุปสรรคแล้ว
ขั้นตอนสุดท้ายคือการสร้าง “ความมั่นใจ” อาจจะเป็นตัวเลขทางสถิติ,แผนการที่วางไว้อย่างดี 
ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้ทุกคนเห็นว่าภาพในวันนี้
จะกลายเป็นจริงได้…

หากท่านมีเวลาผมอยากให้ไปดูการนำเสนอ
ฉบับเต็มของอีลอน มัสก์ตามลิงค์นี้เลยครับ
http://bit.ly/2mfsJWs

จะเห็นว่าเขาใช้หลักการ 5 ข้อนี้ตลอดเวลาการนำเสนอ และแน่นอนผลที่ได้รับมันอัศจรรย์มากครับ

นักเล่าเรื่องต่างจากการเล่านิทานหรือเล่าเรื่องรอบกองไฟ เพราะเรื่องราวลักษณะนั้นมักจะจบลงแบบที่เรียกว่า Happy Ending

แต่สิ่งที่เรากำลังทำมันท้าทายมากกว่านั้นครับ

เพราะตอนจบของเรื่องนี้ยังไม่ถูกเขียน
จะทำอย่างไรให้ผู้ฟังเกิดความมั่นใจ 
ก้าวเดินไปพร้อมกับเรา 

นี่เองศาสตร์การเล่าเรื่อง Storytelling 
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะมองข้ามไม่ได้

กัปตันหมี

Cr: Andy Ruskin